วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

หน่วยที่ 1 ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศ
นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data)ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจมาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ (อ่านต่อ.....ใน Link)

หน่วยที่ 2 บทบาทของสารสนเทศในการบริหารองค์กรทางการศึกษา
สารสนเทศยังมีบทบาท ดังนี้
1. ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ (Decision) หรือช่วยชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
2. ช่วย หรือสนับสนุนการจัดการ (Management) หรือการดำเนินงานขององค์การ ให้มีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลมากขึ้น
3. ใช้ทดแทนทรัพยากร (Resources) ทางกายภาพ เช่น กรณีการเรียนทางไกล ผู้เรียนที่เรียนนอกห้องเรียน จริง สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับ ห้องเรียนจริง โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่ห้องเรียนนั้น
4. ใช้ในการกำกับ ติดตาม (Monitoring) การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เพื่อดูความก้าวหน้าของงาน
5. สารสนเทศเป็นช่องทางโน้มน้าว หรือชักจูงใจ (Motivation) ในกรณีของการโฆษณาที่ทำให้ผู้ชม, ผู้ฟัง ตัดสินใจ เลือกสินค้า หรือบริการนั้น
6. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา (Education) สำหรับการเรียนรู้ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ
7. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมวัฒนธรรม และสันทนาการ (Culture & Recreation) ในด้าน ของการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น
8. สารสนเทศเป็นสินค้าและบริการ (Goods & Services) ที่สามารถซื้อขายได้
9. สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่ต้องลงทุน (Investment) จึงจะได้ผลผลิตและบริการ เพื่อเป็นรากฐานของการ จัดการ และการดำเนินงาน (อ่านต่อ....ใน Link)

หน่วยที่ 3 นวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารการศึกษา
ในฐานะเครื่องมือทางการบริหาร นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญซึ่งจำแนกได้ ดังนี้
3.2.1 เป็นเครื่องมือในด้านการบริหารองค์กร เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจัดการเกี่ยวกับ
(1) การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบายเกี่ยวกับ บทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ตัวผู้เรียน และการจัดทรัพยากรการเรียน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน
(2) การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผนการจัดหาทรัพยากร ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงาน
(3) การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
(4) การสร้างความประสานสัมพันธ์ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานย่อยในองค์กร ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
3.2.2 การเป็นเครื่องมือด้านธุรการ ได้แก่ การผลิตเอกสาร การนัดหมาย การทำ ทะเบียนนักศึกษา ทะเบียนครุภัณฑ์ การทำบัญชีการเงิน และการควบคุมงบประมาณ
3.2.3 ด้านการบริหารงานบุคลากร เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ด้านการบริหารงานบุคลากรเพื่อการแต่งตั้งบุคลากรเข้ารับตำแหน่งให้เหมาะสมกับหน้าที่ โดยสอดคล้องกับความสามารถของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการแต่งตั้งแล้ว เทคโนโลยียังสามารถใช้ในการสรรหา การคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
3.2.4 การบริหารวิชาการ จะใช้เทคโนโลยีในการเก็บระเบียนผลการเรียน การวัดและการประเมินผล พร้อมทั้งการรายงานผลการเรียน
3.2.5 ด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โดยการผลิตสื่อต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจการของสถาบันการศึกษา และการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน(อ่านต่อ....ใน Link)

หน่วยที่ 4 การสื่อสารและระบบเครือข่าย
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
ประเภทของการสื่อสาร
การสื่อสาร มี 2 ประเภท คือ
1. การสื่อสารทางตรง หมายถึง การสื่อสารระหว่างบุคคลโดยตรง ได้แก่ การพูด ปรึกษาหารือ การเจรจาซื้อขายการอภิปราย การนำเสนอด้วยวาจา
2. การสื่อสารทางอ้อม หมายถึง การสื่อสารโดยผ่านสื่อกลาง ได้แก่ การประกาศ การให้ข่าว การโฆษณา การเขียนบทความ ฯลฯ หรือการสช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร วารสาร แผ่นพับ ใบปลิวหรือการสื่อสารโดยใช้บริการโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์ และ การสื่อสารโดยอินเทอร์เน็ต อีเมล์เป็นต้น(อ่านต่อ....ใน Link)

หน่วยที่ 5 นวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การที่ระบบสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการ รวดเร็ว และถูกต้องได้นั้นจำเป็นต้องมีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการพัฒนาระบบที่เรียกว่า ขั้นตอนการพัฒนาระบบ (Systems Delopment Life Cycle หรือ SDLC ) ดังนี้
1. วิเคราะห์และกำหนดความต้องการของระบบงาน (System Analysis and Specification )
2. ออกแบบขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (System Design )
3. เขียนชุดคำสั่ง (Program Coding )
4. ทดสอบการทำงานของระบบงาน (System or Program Testing)
5. ใช้งานและบำรุงรักษาระบบ (System Implementaion and Maintenance )
6. จัดทำเอกสารประกอบระบบ (Documentation)(อ่านต่อ....ใน Link)

หน่วยที่ 6 การบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร
ทักษะที่มีความจำเป็นที่ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้ คือ
1. ทักษะในการพิมพ์เอกสาร ผู้บริหารมีความจำเป็นต้องสร้าง หรือทำเอกสารขึ้นด้วยตนเองบ้างในบางครั้งที่มีความจำเป็น หรือต้องการเก็บเป็นความลับ
2. ทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารต้องสามารถรวบรวมข้อมูล และบันทึกเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ เพราะจะทำให้สามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ
3. ทักษะการใช้ e-mail และการประชุมร่วม เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารที่มีความรวดเร็วและประหยัด
4. ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมายจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องมีการวิเคราะห์คัดเลือกข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
5. ทักษะในการสร้างรูปแบบ หรือสถานการณ์จำลอง เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมขึ้น เป็นทักษะที่จะช่วยให้มีกระบวนการในการตัดสินใจ และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการบริหารและจัดการได้
ผู้บริหารจะต้องมองถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้และมีการกำหนดขั้นตอนในการนำมาใช้ โดยพิจารณาถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วทั้งในและนอกระบบของสถานศึกษา และสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งในและนอกระบบของสถานศึกษา ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การมองอนาคตเป็นความสามารถของผู้บริหารที่จะมีสายตาที่ยาวไกล มองเห็นภาพของความสัมพันธ์ในการใช้เทคโนโลยี ทั้งที่เป็นอยู่และในอนาคต เพื่อการกำหนดยุทธวิธีดำเนินงานเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลง บรรลุถึงสิ่งที่หวังและตั้งใจให้เกิด
ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมี วิสัยทัศน์ ( Vision) ถ้าขาด วิสัยทัศน์ แล้วการใช้เทคโนโลยีจะไร้ทิศทาง และจะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่าผลที่ควรจะได้รับ
ข้อควรคำนึงของผู้บริหารที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ต้องเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา จำเป็นต้องมีการลงทุนในรูปของเครื่องมือและอุปกรณ์ ฉะนั้นต้องมีการบริหารงบประมาณที่เหมาะสม
3. การเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายให้เหมาะสม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นต้องมีการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5. ต้องติดตามความก้าวหน้าอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะล้าหลัง ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ทันสมัยกว่าได้
6. ผู้บริหารต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบในการตัดสินใจ เพราะการถ่ายทอดข้อมูลมีความรวดเร็วมาก
7. ปรับเปลี่ยนบทบาทและยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
8. ต้องศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และเนื้อหาวิชาของงานให้ลึกซึ้งขึ้น
9. ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลในการนำไปใช้ประโยชน์(อ่านต่อ....ใน Link)

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551

การมีน้ำใจ

การอยู่ร่วมกันในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน จึงจะอยู่กันได้อย่างสันติสุขความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมายเพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ เช่นการพาเด็กหรือผู้สูงอายุข้ามถนน หรือการสละที่นั่งบนรถโดยสารให้หญิงมีครรภ์ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจการแสดงความมีน้ำใจจึงไม่ใช่วัดกันด้วยเงิน บางคนมีเงินมากอาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่ตระหนี่ถี่เหนี่ยว ไม่ยอมสละเงินโดยไม่รับผลประโยชน์ตอบแทน
ความมีน้ำใจนั้น ตรงกันข้ามกับความเห็นแก่ตัวมักจะคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวมาก่อน และความมีน้ำใจตรงกันข้ามกับความอิจฉาริษยา คนที่อิจฉาริษยาคนอื่นย่อมปรารถนาที่จะเห็นความวิบัติของผู้ที่ได้ดีกว่า แต่คนมีน้ำใจนั้นเมื่อเห็นคนอื่นดีกว่า จะมีมุทิตาจิต แสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจผู้มีน้ำใจนั้นเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า จะมีมุทิตาจิตแสดงความยินดีด้วยความจริงใจ ผู้มีน้ำใจจะนึกถึงผู้อื่น และจะพยายามช่วยผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า ผู้มีน้ำใจจึงเป็นที่รักและต้องการของคนเราอาจฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจได้ ดังนี้

1. จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดถึงหัวอกของคนอื่น และแสดงต่อผู้อื่นเหมือนที่เราต้องการให้คนอื่นแสดงต่อเรา จงทำดีต่อคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าความดีนั้นจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยหรือสิ่งยิ่งใหญ่ก็ตาม
2. จงเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ
3. จงแสดงน้ำใจกับคนรอบข้าง เช่น เมื่อเวลาไปเที่ยวในที่ไกลหรือใกล้ก็ตามควรมีค่าของฝากมาถึงคนที่เรารู้จักและญาติมิตรของเรา อันเป็นการแสดงความมีน้ำใจต่อกัน ไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินมากมาย
4. จงเสียสละกำลังทรัพย์ สติปัญญา กำลังกาย และเวลาให้แก่ผู้เดือดร้อนที่ต้องการพึ่งพาอาศัยเราโดยเป็นการกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทน
5. จงมีนิสัยเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อเพื่อนบ้าน เช่นไปร่วมงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ หรืองานอื่น ๆ
6. จงให้ความรักแก่คนอื่น ๆ และให้ความร่วมมือเมื่อเขาขอร้องหรือรู้ว่าเขากำลังลำบากต้องการความช่วยเหลือ
การฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจ นอกจากจะทำให้เราจิตใจที่ดีงามเบิกบานแจ่มใส ผิวพรรณผ่องใสใบหน้าอิ่มเอิบแล้ว ยังทำให้มิตรสหายมาก ใครก็อยากคบหาสมาคมด้วย เพราะความมีน้ำใจแสดงถึงความมีเมตตา กรุณา ต่อเพื่อนมนุษย์ และความเมตตานี้เองจะเป็นกำแพงป้องกันภัยให้เราได้ ลองนำไปปฏิบัติดูนะคะ แล้วชีวิตจะพบแต่ความสุขนิรันดร์

โลกร้อน คืออะไร

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่คนในสังคมโลกยังให้ความสนใจไม่มากนักและที่สำคัญ คือ ยังมีคนจำนวนมากขาดความเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนในโลก มีส่วนร่วมกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพียงแต่จะมากหรือน้อยนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามพฤติกรรม และรูปแบบการ ดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลเช่น การอุปโภค บริโภค การใช้ยานพาหนะรวมถึงการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกประเภทต่าง ๆ ยิ่งบุคคลใดอุปโภค บริโภคมากหรือใช้ชีวิตพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมาก บุคคลผู้นั้นก็มีส่วนทำให้เกิด“ภาวะโลกร้อน”มากขึ้น
ถึงเวลาที่ต้องหันมามองโลกอย่างใส่ใจ ให้ความสำคัญกับ "สภาวะโลกร้อน" ประเด็นร้อนแรงของวันนี้ ที่มิใช่เพียง"ป้องกัน" แต่กับสภวาะการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องเรียกว่า "รับมือ" กับสิ่งที่มนุษย์ได้ทำร้ายโลกลงไป

สาเหตุหลักของปัญหานี้
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผาเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่นถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ปัจจุบัน การเผาผลาญเชื้อเพลงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อันส่งผลกระทบต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยขึ้น

หากเรายังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าจะเกิดเรื่องอย่างนี้แน่ - อัตรา ผู้เสียชีวิต จาก โลกร้อน จะพุ่งไปอยู่ที่ 300000 คนต่อปี ใน 25 ปีต่อจากนี้ - ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 20 ฟุต - คลื่นความร้อน จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น - ภาวะฝนแล้ง และไฟป่าจะเกิดบ่อยขึ้น - มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เหลือน้ำแข็ง ภายในฤดูร้อน 2050 - สิ่งมีชีวิตกว่าล้านสปีชี่ส์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

การแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่แค่คิดจะทำ แต่ต้องลงมือทำจริง

คลังบทความของบล็อก

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ"การดูแลช่วยเหลือนักเรียน"

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โรงเรียนวัดจันทาราม ตั้งตรงจิตร 5


ประเด็น การดูแลช่วยเหลือนักเรียน

DATA
นักเรียน ทุนการศึกษา อาหารกลางวัน การแนะแนว ร่างกาย พฤติกรรมนักเรียน ผลการเรียน การเรียน สุขภาพ สารเสพติด การเยี่ยมบ้านนักเรียน ข้อมูลนักเรียน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ความสามารถพิเศษ การคัดกรอง กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา กิจกรรม ช่วยเหลือ แก้ไข พฤติกรรมทางเพศ คณะกรรมการสถานศึกษา สังเกต สอบถาม สัมภาษณ์
INFORMATION
- ทำไมต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการ
- ใครบ้างที่มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู ครูประจำชั้น
- มีปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้ต้องใช้การดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การเรียน ครอบครัว เศรษฐกิจ สุขภาพ สารเสพติด พฤติกรรมทางเพศ ร่างกาย ความสามารถ
- จะรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนต้องการการดูแลช่วยเหลือ
สังเกต เยี่ยมบ้านนักเรียน สอบถาม สัมภาษณ์ ข้อมูลนักเรียน ผลการเรียน
KNOWLEDGE
- การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม ดูแล พัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง
- ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพและมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ โดยมีครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรที่เป็นหลักในการดำเนินงานและบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษาอันได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหารและครูทุกคนมีส่วนร่วม
- ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ การวางแผน (plan) การดำเนินงาน (do) การตรวจสอบประเมินผล (check) การปรับปรุงพัฒนา (act)
- ภารกิจหลักของการดำเนินงาน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรอง การส่งเสริมและพัฒนา การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข การส่งต่อ
- วิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่ สังเกต สัมภาษณ์ เยี่ยมบ้าน ศึกษาข้อมูล ทดสอบ
- การคัดกรองนักเรียนเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำผลที่ได้มาจำแนกตามเกณฑ์คัดกรองที่สถานศึกษาได้ทำขึ้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา
- กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของตนเองหรือสังคมส่วนรวมในด้านลบ
- กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ เช่น เก็บตัว แสดงออกเกินขอบเขต ปรับตัวทางเพศไม่เหมาะสม ทดลองสิ่งเสพติด ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ
- กลุ่มมีปัญหาหมายถึง นักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาชัดเจน มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของตนเองหรือต่อสังคมส่วนรวมในด้านลบ
- การส่งเสริมและพัฒนาเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนที่อยู่ในความดูแลของครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความภาคภูมิใจในตนเอง ช่วยป้องกันไม่ให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติกลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มมีปัญหา และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/ มีปัญหากลับมามีพฤติกรรมดีขึ้นตามที่สถานศึกษาหรือ
ชุมชนคาดหวัง เช่น กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
- การป้องกันช่วยเหลือแก้ไข เช่น การให้คำปรึกษา กิจกรรมในชั้นเรียน การสื่อสารกับผู้ปกครอง กิจกรรมเสริมหลักสูตร และกิจกรรมซ่อมเสริม
- การส่งต่อ ในกรณีที่เด็กมีปัญหายากแก่การช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้น ก็ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อนักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาและช่วยเหลืออย่างถูกทางและ
รวดเร็วขึ้น
WISDOM
- การดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร
1. การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย
- ทีมนำ ได้แก่ คณะผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นผู้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง จัดทำแผนกลยุทธ์ ควบคุม กำกับ ติดตามและสนับสนุน เสริมสร้างพลังร่วม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทีมสนับสนุน เป็นทีมหลักในการสนับสนุนประสานงานด้านวิชาการและอื่นๆ ให้เกิดการสร้างระบบคุณภาพขึ้น หัวหน้าทีมคือ รองผู้บริหารสถานศึกษา
- ทีมทำ เป็นทีมที่สมาชิกรับผิดชอบการทำงานโดยตรง เช่น ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทีมครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ให้มีคุณภาพ
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำได้ทั้งภายในและระหว่างโรงเรียน โดยมีบรรยากาศเป็นกันเอง ไม่ใช่การสั่งการหรือบังคับบัญชา ทำให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนเกิดความรู้สึกที่ดี ไม่ต้องกังวลเรื่องการตรวจสอบจากผู้บังคับบัญชา
3. การบริหารเชิงระบบ
- การวางแผน (plan) คือ การกำหนดขั้นตอนการทำงานเป็นกระบวนการ มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานและบันทึกการทำงานเป็นปัจจุบัน
- การดำเนินงาน (do) เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันของทุกคนโดยใช้กระบวนการ วิธีการอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน
- การตรวจสอบ / ประเมินผล (check) เป็นการประเมินตนเองโดยร่วมกันประเมิน ผลัดเปลี่ยนกันประเมินระหว่างบุคคลและระหว่างทีม
- การปรับปรุงพัฒนา (act) นำผลการประเมินมาแก้ไขพัฒนางาน ซึ่งอาจแก้ไขพัฒนาในส่วนที่เป็น กระบวนการ วิธีการ ปัจจัย ฯลฯ
4. การนิเทศติดตามและประเมินผล เป็นกระบวนการที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุน ให้ข้อมูลย้อนกลับที่จะนำมาใช้ปรับปรุงงานต่อไป
- ขอบข่ายการดำเนินงาน
1. นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือ
2. ดำเนินการทั้งส่งเสริม พัฒนา ป้องกันและแก้ไข
3. การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน นอกโรงเรียน ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

การจัดนิทรรศการ

การจัดนิทรรศการ
คำว่า "นิทรรศการ" หมายถึงการจัดแสดงผลงานสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปได้ชม ดังนั้น จึงเป็นวิธีประกาศ โฆษณา ประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้องมีสิ่งของ ภาพ ตลอดจนการแสดง เช่น การจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการทางศิลปะ หรือการจัดนิททรศการวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น
การจัดนิทรรศการจะต้องมีจุดมุ่งหมายว่า เพื่องานอะไร และจัดอย่างไร มีอะไรบ้าง เพราะเป็นการร่วมกันทำงานในกลุ่ม ซึ่งถ้าจัดได้ดีเป็นที่สนใจของผู้เข้าชมก็จะเกิดความกระตือรือร้น เกิดความพอใจ และได้ประโยชน์จากการเข้าชม ผู้เข้าชมนิทรรศการที่ดีต้องเข้าใจเสียก่อนว่า งานนิทรรศการที่จัดขึ้นนั้นเกี่ยวกับเรื่องราวทางด้านใด ที่ไหน เมื่อไร และสามารถเข้าใจด้วยว่าจัดอย่างไร ผู้ชมต้องใช้ดุลพินิจประเมินคุณค่าได้ว่าจะได้รับประโยชน์จากนิทรรศการอย่างไรบ้าง
หลักการจัดนิทรรศการมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหรือพิจารณาในการจัดนิทรรศการ มีดังต่อไปนี้
1. จุดมุ่งหมายและเป้าหมายในการจัดนิทรรศการ
2. เรื่องราวในการจัดนิทรรศการ
3. สถานที่ในการจัดนิทรรศการ
4. ส่วนประกอบในการจัดนิทรรศการ
5. ระยะเวลาในการจัดนิทรรศการ
ดังนั้น ผู้จัดนิทรรศการต้องเตรียมการ (PLANNING) ดังนี้
1. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
2. การวิเคราะห์เนื้อหา
3. การตั้งวัตถุประสงค์
4. การกำหนดสถานที่
5. การกำหนดเวลา
6. การตั้งงบประมาณ
7. การออกแบบนิทรรศการ
8. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์
9. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
10. การประชาสัมพันธ์หลักการจัดนิทรรศการ

และควรคำนึงถึง What? Why? Where? When? Who? How?
1. ความเป็นเอกภาพ
2. ความสมดุล
3. ความเด่น