วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ"การดูแลช่วยเหลือนักเรียน"

การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โรงเรียนวัดจันทาราม ตั้งตรงจิตร 5


ประเด็น การดูแลช่วยเหลือนักเรียน

DATA
นักเรียน ทุนการศึกษา อาหารกลางวัน การแนะแนว ร่างกาย พฤติกรรมนักเรียน ผลการเรียน การเรียน สุขภาพ สารเสพติด การเยี่ยมบ้านนักเรียน ข้อมูลนักเรียน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ความสามารถพิเศษ การคัดกรอง กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา กิจกรรม ช่วยเหลือ แก้ไข พฤติกรรมทางเพศ คณะกรรมการสถานศึกษา สังเกต สอบถาม สัมภาษณ์
INFORMATION
- ทำไมต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการ
- ใครบ้างที่มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู ครูประจำชั้น
- มีปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้ต้องใช้การดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การเรียน ครอบครัว เศรษฐกิจ สุขภาพ สารเสพติด พฤติกรรมทางเพศ ร่างกาย ความสามารถ
- จะรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนต้องการการดูแลช่วยเหลือ
สังเกต เยี่ยมบ้านนักเรียน สอบถาม สัมภาษณ์ ข้อมูลนักเรียน ผลการเรียน
KNOWLEDGE
- การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม ดูแล พัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง
- ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพและมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ โดยมีครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรที่เป็นหลักในการดำเนินงานและบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษาอันได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหารและครูทุกคนมีส่วนร่วม
- ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ การวางแผน (plan) การดำเนินงาน (do) การตรวจสอบประเมินผล (check) การปรับปรุงพัฒนา (act)
- ภารกิจหลักของการดำเนินงาน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรอง การส่งเสริมและพัฒนา การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข การส่งต่อ
- วิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่ สังเกต สัมภาษณ์ เยี่ยมบ้าน ศึกษาข้อมูล ทดสอบ
- การคัดกรองนักเรียนเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำผลที่ได้มาจำแนกตามเกณฑ์คัดกรองที่สถานศึกษาได้ทำขึ้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา
- กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของตนเองหรือสังคมส่วนรวมในด้านลบ
- กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ เช่น เก็บตัว แสดงออกเกินขอบเขต ปรับตัวทางเพศไม่เหมาะสม ทดลองสิ่งเสพติด ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ
- กลุ่มมีปัญหาหมายถึง นักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาชัดเจน มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของตนเองหรือต่อสังคมส่วนรวมในด้านลบ
- การส่งเสริมและพัฒนาเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนที่อยู่ในความดูแลของครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความภาคภูมิใจในตนเอง ช่วยป้องกันไม่ให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติกลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มมีปัญหา และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/ มีปัญหากลับมามีพฤติกรรมดีขึ้นตามที่สถานศึกษาหรือ
ชุมชนคาดหวัง เช่น กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
- การป้องกันช่วยเหลือแก้ไข เช่น การให้คำปรึกษา กิจกรรมในชั้นเรียน การสื่อสารกับผู้ปกครอง กิจกรรมเสริมหลักสูตร และกิจกรรมซ่อมเสริม
- การส่งต่อ ในกรณีที่เด็กมีปัญหายากแก่การช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้น ก็ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อนักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาและช่วยเหลืออย่างถูกทางและ
รวดเร็วขึ้น
WISDOM
- การดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร
1. การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย
- ทีมนำ ได้แก่ คณะผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นผู้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง จัดทำแผนกลยุทธ์ ควบคุม กำกับ ติดตามและสนับสนุน เสริมสร้างพลังร่วม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทีมสนับสนุน เป็นทีมหลักในการสนับสนุนประสานงานด้านวิชาการและอื่นๆ ให้เกิดการสร้างระบบคุณภาพขึ้น หัวหน้าทีมคือ รองผู้บริหารสถานศึกษา
- ทีมทำ เป็นทีมที่สมาชิกรับผิดชอบการทำงานโดยตรง เช่น ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทีมครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ให้มีคุณภาพ
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำได้ทั้งภายในและระหว่างโรงเรียน โดยมีบรรยากาศเป็นกันเอง ไม่ใช่การสั่งการหรือบังคับบัญชา ทำให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนเกิดความรู้สึกที่ดี ไม่ต้องกังวลเรื่องการตรวจสอบจากผู้บังคับบัญชา
3. การบริหารเชิงระบบ
- การวางแผน (plan) คือ การกำหนดขั้นตอนการทำงานเป็นกระบวนการ มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานและบันทึกการทำงานเป็นปัจจุบัน
- การดำเนินงาน (do) เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันของทุกคนโดยใช้กระบวนการ วิธีการอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน
- การตรวจสอบ / ประเมินผล (check) เป็นการประเมินตนเองโดยร่วมกันประเมิน ผลัดเปลี่ยนกันประเมินระหว่างบุคคลและระหว่างทีม
- การปรับปรุงพัฒนา (act) นำผลการประเมินมาแก้ไขพัฒนางาน ซึ่งอาจแก้ไขพัฒนาในส่วนที่เป็น กระบวนการ วิธีการ ปัจจัย ฯลฯ
4. การนิเทศติดตามและประเมินผล เป็นกระบวนการที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุน ให้ข้อมูลย้อนกลับที่จะนำมาใช้ปรับปรุงงานต่อไป
- ขอบข่ายการดำเนินงาน
1. นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือ
2. ดำเนินการทั้งส่งเสริม พัฒนา ป้องกันและแก้ไข
3. การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน นอกโรงเรียน ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

การจัดนิทรรศการ

การจัดนิทรรศการ
คำว่า "นิทรรศการ" หมายถึงการจัดแสดงผลงานสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปได้ชม ดังนั้น จึงเป็นวิธีประกาศ โฆษณา ประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้องมีสิ่งของ ภาพ ตลอดจนการแสดง เช่น การจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการทางศิลปะ หรือการจัดนิททรศการวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น
การจัดนิทรรศการจะต้องมีจุดมุ่งหมายว่า เพื่องานอะไร และจัดอย่างไร มีอะไรบ้าง เพราะเป็นการร่วมกันทำงานในกลุ่ม ซึ่งถ้าจัดได้ดีเป็นที่สนใจของผู้เข้าชมก็จะเกิดความกระตือรือร้น เกิดความพอใจ และได้ประโยชน์จากการเข้าชม ผู้เข้าชมนิทรรศการที่ดีต้องเข้าใจเสียก่อนว่า งานนิทรรศการที่จัดขึ้นนั้นเกี่ยวกับเรื่องราวทางด้านใด ที่ไหน เมื่อไร และสามารถเข้าใจด้วยว่าจัดอย่างไร ผู้ชมต้องใช้ดุลพินิจประเมินคุณค่าได้ว่าจะได้รับประโยชน์จากนิทรรศการอย่างไรบ้าง
หลักการจัดนิทรรศการมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหรือพิจารณาในการจัดนิทรรศการ มีดังต่อไปนี้
1. จุดมุ่งหมายและเป้าหมายในการจัดนิทรรศการ
2. เรื่องราวในการจัดนิทรรศการ
3. สถานที่ในการจัดนิทรรศการ
4. ส่วนประกอบในการจัดนิทรรศการ
5. ระยะเวลาในการจัดนิทรรศการ
ดังนั้น ผู้จัดนิทรรศการต้องเตรียมการ (PLANNING) ดังนี้
1. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
2. การวิเคราะห์เนื้อหา
3. การตั้งวัตถุประสงค์
4. การกำหนดสถานที่
5. การกำหนดเวลา
6. การตั้งงบประมาณ
7. การออกแบบนิทรรศการ
8. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์
9. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
10. การประชาสัมพันธ์หลักการจัดนิทรรศการ

และควรคำนึงถึง What? Why? Where? When? Who? How?
1. ความเป็นเอกภาพ
2. ความสมดุล
3. ความเด่น